รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (2550)รางวัล ญี่ปุ่น ปี 2550รางวัล วูลฟ์ สาขาฟิสิกส์ 2549/2550
รางวัลระหว่างประเทศ สำหรับ วัสดุใหม่ ของ สมาคมฟิสิกส์อเมริกัน
รางวัลสภาพแม่เหล็ก จาก สหภาพระหว่างประเทศ ของ ฟิสิกส์บริสุทธิ์ และ ประยุกต์ (IUPAP)
รางวัล อนาคตเยอรมัน ปี 2541 สำหรับ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม
ปีเตอร์ อันเดรอัส กรึนแบร์ก (เยอรมัน: Peter Andreas Gr?nberg) เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน และ เป็นหนึ่งในผู้ค้นพบ ปรากฏการณ์ความต้านทานแม่เหล็กขนาดยักษ์ ซึ่งเป็นที่มาของการทะลวงฝ่าอุปสรรคในการสร้างฮาร์ดดิสก์ ความจุระดับ จิกะไบต์
กรึนแบร์กได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี พ.ศ. 2550 พร้อมกับ อัลเบิร์ต เฟิร์ต นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส สำหรับการค้นพบ ปรากฏการณ์ ความต้านทานแม่เหล็กขนาดยักษ์ ของพวกเขา
กรึนแบร์ก เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 ที่เมืองเปิลเซน (ซึ่งในขณะนั้นเป็นดินแดนในการอารักขา ของ โบฮีเมีย และ โมราเวีย โดยในปัจจุบันนี้ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐเช็ก) เป็นบุตรของวิศวกร หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง พวกเขาได้ย้ายไปยังเมืองเลาเทอร์บาค ในรัฐเฮสเซิน และ ปีเตอร์ก็ได้เข้ารับการศึกษาใน ยิมเนเซียม ในเมืองนั้น
กรึนแบร์กได้รับประกาศนียบัตรระดับกลางในปี 2505 จาก มหาวิทยาลัยเกอเทอแห่งแฟรงก์เฟิร์ต จากนั้นเขาเข้าศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งดาร์มชตัทท์ในเยอรมัน ที๋ซึ่งเขาได้รับประกาศนียบัตรทางฟิสิกส์ ในปี 2509 และ ปริญญาดุษฎีบัณฑิตในปี 2512 หลังจากนั้นเขาได้เข้าทำงานที่สถาบันสำหรับฟิสิกส์สถานะของแข็ง ที่ ศูนย์วิจัยยือลิช ซึ่งเป็นที่ที่ทำให้เขาได้เป็นผู้วิจัยนำในสาขาสภาพแม่เหล็ก จนกระทั่งเกษียณในปี 2547
ในปี 2529 เขาได้ค้นพบ ชั้นแม่เหล็กอย่างแรง (ferromagnetic layers) ที่มี การเข้าคู่แลกเปลี่ยน (exchange coupling) ของ สภาพต่อต้านเชิงขนาน (antiparallel) และ ในปี 2531 เขาได้ค้นพบ ปรากฏการณ์ ความต้านทานแม่เหล็กขนาดยักษ์ (giant magnetoresistive effect ชื่อย่อ GMR) ใน ชั้นแม่เหล็กหลายชั้นที่เข้าคู่กันในลักษณะนั้น ปรากฏการณ์นี้ได้ถูกค้นพบขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน อย่างเป็นอิสระต่อกัน โดย อัลเบิร์ต เฟิร์ต จากมหาวิทยาลัย ของปารีส-ซูด (Universit? de Paris Sud) งานของกรึนแบร์กทำให้เขาได้รับรางวัลร่วมหลายรางวัล ได้แก่ รางวัลระหว่างประเทศ สำหรับ วัสดุใหม่ ของ สมาคมฟิสิกส์อเมริกัน, รางวัลสภาพแม่เหล็ก จาก สหภาพระหว่างประเทศ ของ ฟิสิกส์บริสุทธิ์ และ ประยุกต์, รางวัล ฮิวเล็ตต์-เพคคาร์ด ยูโรฟิสิกส์, รางวัล วูลฟ์ สาขาฟิสิกส์ ปี 2549/2550 และ รางวัล ญี่ปุ่น ปี 2550 ก่อนจะได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ในปีเดียวกัน นอกจากนี้เขายังได้รับรางวัลอันทรงเกียรติของเยอรมัน คือ รางวัล อนาคตเยอรมัน ปี 2541 สำหรับ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม อีกด้วย